วันอาทิตย์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

โครงงานคอมพิวเตอร์ 2/58

สัปดาห์ที่1

ใบงานที่ 1.1 : ความหมายและคุณค่าของโครงงาน
1. จงบอกความหมายของโครงงานคอมพิวเตอร์
           เทคโนโลยีที่ส่งผลต่อคาวมก้าวหน้าของสังคม การศึกษาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์จึงมีความจำเป็น เพื่อพัฒนาให้มีความรู้ ความเข้าใจในวิทยาการคอมพิวเตอร์ และ การจัดทำโครงงานคอมพิวเตอร์จะทำให้เข้าใจของการเรียน การสอน คอมพิวเตอร์ ในโรงเรียน สามารถนำความรู้ ความสามารถไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้

2. นักเรียนคิดว่าการทำโครงงานคอมพิวเตอร์ จะได้ประโยชน์อย่างไร ให้แสดงความคิดเห็นเป็นข้อๆ
        1.) ได้ศึกษาเรียนรู้ ค้นคว้า ด้านเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์
        2.) พัฒนาทักษะและความชำนาญด้านการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
        3.) มีความรู้ ความเข้าใจในวิทยาการคอมพิวเตอร์มากขึ้น
        4.) สามารถนำความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ไปใช้ช่วยในการตัดสินใจ และแก้ไขปัญหาในชีวิต              ประจำวัน
        5.) สามารถนำความรู้มาประดิษฐ์คิดค้นสื่อต่างๆเพื่อช่วยในการดำเนินชีวิต

3. กิจกรรมที่จัดว่าเป็นโครงงานคอมพิวเตอร์ควรมีองค์ประกอบหลักอะไรบ้าง
       - เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับซอฟต์แวร์ และ/หรือ ฮาร์ดแวร์
       - ผู้เรียนเป็นผู้ริเริ่มและเลือกเรื่องที่จะศึกษา ค้นคว้า พัฒนา ด้วยตนเองตามความสนใจและ            ระดับความรู้ความสามารถ
       - ผู้เรียนเป็นผู้วางแผนในการศึกษา ค้นคว้า ตลอดจนการพัฒนา เก็บรวบรวมข้อมูล

4. "การทำโครงงานคอมพิวเตอร์ ได้พัฒนากระบวนการคิด การแก้ปัญหา การตัดสินใจ รวมทั้งการสื่อสารระหว่างกัน" นักเรียนมีความคิดเห็นต่อประโยคนี้อย่างไร
       มีความคิดเห็นว่า เป็นความจริง การทำโครงงานจะช่วยให้ผู้ทำเกิดความคิดริเริ่มสิ่งใหม่ในการทำโครงงาน มีการตัดสินใจแก้ปัญหาต่างๆ และรวมถึงการสื่อสารด้วย

5. นักเรียนใช้หลักเกณฑ์อะไรบ้าง ในการเลือกทำโครงงาน จงเขียนเป็นข้อ ๆ เรียงตามลำดับความสำคัญ
       1.) เลือกโครงงานที่สนใจตามความเหมาะสมของความสามารถ
       2.) เลือกเรื่องที่มีความน่าสนใจ
       3.) คำนึงถึงประโยชน์ที่ได้รับหลังการทำโครงงานว่ามีประโยชน์ต่อเรามากน้อยเพียงใด



ใบงานที่ 1.2 ประเภทของโครงงาน

1. ประเภทของโครงงาน

     1.1 โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา
     1.2 โครงงานพัฒนาเครื่องมือ
     1.3 โครงงานจำลองทฤษฏี
     1.4 โครงงานประยุกต์ใช้งาน
     1.5 โครงงานพัฒนาเกม









วันอาทิตย์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2558

สื่อการสอนการใช้โปรแกรม Photoscape (บนBlogger)
                   เนื่องจากปัจจุบัน มีการใช้เทคโนโลยีต่างๆมาอำนวยความสะดวกมากมาย ทั้งในด้านการเรียนการสอน ความหลากหลายทางโปรแกรมต่างๆจึงอาจจะทำให้ผู้ใช้เกิดความสับสน
                    ข้าพเจ้าจังเล็งเห็นความสำคัญในการใช้งานโปรแกรมต่างๆเพื่ออำนวยความสะดวก จีงได้จัดทำสื่อการสอนการใช้โปรแกรม Photoscape ขึ้นมาเพื่อสอนการใช้โปรแกรมดังกล่าว และเผยแพร่วิธีการใช้ในรูปแบบวิดีโอการสอนให้แก่ผู้ที่ต้องการใช้งานต่อไป

วันอาทิตย์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2558

การใช้ Webcame

การใช้วิดีโอเว็บแคม
1.เป็นวิดีโอที่ใช้ง่าย
2.สามารถเผยแพร่ได้ทันที
3.เป็นวิดีโอที่ตกแต่งได้สำเร็จรูป
โปรแกรมที่เคยใช้ "Adobe Photoshop CS6"
เป็นโปรแกรมการตกแต่งรูปที่มีมาตรฐานได้รับความนิยม
ใช้ง่าย สำหรับผู้ที่เชี่ยวชาญด้านการตกแต่งภาพ
เป็นโปรแกรมที่สามารถตัด ต่อภาพ ได้อย่างสวยงาม
ประวัติส่วนตัว เป็น PDF ไฟล์
การจัดทำเป็นไฟล์แบบPDF ช่วยป้องกันการเปลี่ยนแปลงของงาน
ป้องกันการCoppyงาน ไฟล์งานเล็ก สะดวกต่อการส่งต่อ

การจัดทำวิดีโอ "ค่านิยมหลัก 12 ประการ"



ประโยชน์ที่ได้รับจากการทำวิดีโอ
1.ได้ทักษะการจัดการเนื้อเรื่องในวีดีโอ
2.ได้เรียนรู้การถ่ายวิดีโอ
3.ได้เรียนรู้การตกแต่งวิดีโอ

วันอาทิตย์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2558

การใช้โปรแกรมPDF


ประโยชน์ที่ได้จากการเรียนรู้โปรแกรม PDF 
1.สามารถนำงานเเผยแพร่ได้โดยที่คนอื่นไม่สามารถนำงานของเราไปได้
2.สะดวกในงานนำเสนองานเพราะงานไม่มีการเปลี่ยนแปลงเมื่อนำไปเปิดกับอุปกรณ์อื่น
3.PDF มีความจำที่น้อยกว่า สามารถใส่งานได้
4.มีความรู้ความเข้าใจในการใช้โปรแกรม PDF


Excel ค่าเฉลี่ย1










               มีความรู้ความเข้าใจในการใช้โปรแกรม Excel  ได้ประโยชน์จากการเรียนรู้โปรแกรม Ecxcel คือ สามารถคำนวณเป็นสูตรทางคณิตศาสตร์ได้
มีความรู้ในการทำแบบประเมินจากโปรแกรมExcel ตกแต่งข้อมูลตารางต่างๆในโปรมแกรมได้ด้วย
สามารถนำไปใช้ในการทำงานในอนาคต

วันอาทิตย์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2558

รายชื่อสมาชิก6/2

ครูแพท patcharinclass2.blogspot.com
ครูหยก tmkhongyok.blogspot.com

รายชื่อ นักเรียนชั้นม.6/2

127498นายไกรสร ส่งบุญ
227500นายคุณภัค บวรพิพัฒนวงศ์
327501นายจารุกิตต์ สายสอาด
427503นายญาณกร หาญณรงค์
527508นายธวัชชัย แจ้งบุตร
627512นายสาธิต ผิวผ่อง
727579นายไกรวี ชาโชติ
827580นายคมสันต์ เสมทับ
927677นายพลวัต สวยทอง
1029831นายธรรศ วงศ์ภาณุวัฒน์
1129832นายนิภัทร์ การะเวก
1229833นายภัทรพงษ์ สุทธิบุตร
1329834นายวิรุฬห์ ต๋องเรียน
1430482นายกัมพล เสลาคุณ
1527516นางสาวเจนจิรา รักดี
1627518นางสาวญาณิศา ดวงเจริญยิ่ง
1727520นางสาวธนภรณ์ นาคอ้น
1827521นางสาวธนวรรณ อ่อนส้มกริต
1927527นางสาวลักษณา มุสิกวัตร
2027530นางสาวศิริพิชชาภัค รฐาโชคนิธิธนากุล
2127531นางสาวศิริลักษณ์ ปานน้อย
2227553นางสาวจตุพร อยู่หุ่น
2327557นางสาวฐิติพร สมทบบารมี
2427565นางสาวมัณฑนา จันทร์แจ่ม
2527567นางสาวรัตนาวดี นาคโต
2627569นางสาววัฒนา ศรีสุข
2727573นางสาวสุนิสา เล็กซุง
2827575นางสาวอรทัย ศรีจันทร์
2927830นางสาวดวงพร จิตต์น้ำใจ
3029820นางสาวชนิตา โคตะมะ
3129821นางสาวฐิติยา เลาหะกาญจนศิริ
3229822นางสาวธนัตดา กระต่ายทอง
3329823นางสาวพรฏิตรา ปฏิพัทธ์ธรรม
3429824นางสาวพรปวีณ์ รุ่งเรือง
3529825นางสาวรัตติยา เจริญพร
3629826นางสาวฤทัยกาญจน์ ทองปาน
3729827นางสาวศิริเดือน เลาหเจริญกุล
3829828นางสาวศิริรัตน์ ลี้เกษร
3929829นางสาวศุภากร คงสังข์
4029830นางสาวอภิญญา พุคง
4129935นางสาววราภรณ์ ระเบียบ
4230475นางสาววิรัลพัชร ธนาวัฒน์ศักดิ์

ธนาคารความรู้

มหาวิทยาลัย

ศิลปากร
เกษตรศาสตร์ 
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
ธรรมศาสตร์
ขอนแก่น

เตรียมสอบ



วันอาทิตย์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ใบงานที่1


การใช้งาน Blogger


การสร้างบล็อก

เมื่อต้องการเริ่มเขียนบล็อกด้วยบล็อกเกอร์ ให้ไปที่ หน้าแรกบล็อกเกอร์ ใส่ชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านของคุณ จากนั้นคลิกลงชื่อเข้าใช้ ป้อนชื่อที่แสดง และยอมรับข้อกำหนดในการให้บริการของบล็อกเกอร์ จากนั้นคลิกที่ลิงก์ สร้างบล็อก แล้วเริ่มต้นได้เลย!
เลือกที่อยู่ (URL) และชื่อบล็อก จากนั้นเลือกเทมเพลตบล็อกที่คุณชอบ (นี่คือลักษณะหน้าตาของบล็อกเมื่อคุณเผยแพร่) จากนั้นก็เริ่มใช้ความคิดสร้างสรรค์ เพิ่มข้อมูลในโปรไฟล์ส่วนบุคคลของคุณ และปรับแต่งลักษณะของบล็อก ถ้าคุณต้องการ เริ่มต้นเขียนบล็อกวันนี้
แดชบอร์ด

หน้าแดชบอร์ดคือจุดเริ่มต้นของคุณเช่นเคย หน้านี้จะแสดงรายชื่อบล็อกของคุณทั้งหมด และคุณสามารถคลิกที่ไอคอนถัดจากชื่อบล็อกเพื่อดำเนินการต่างๆ กับแต่ละบล็อก เช่น
  • เขียนโพสต์ใหม่: คลิกที่ไอคอนดินสอสีส้มบนแดชบอร์ดเพื่อเข้าถึงเครื่องมือการแก้ไขโพสต์
  • ดูโพสต์ของคุณ: ไอคอนรายการโพสต์สีเทาจะนำคุณไปยังรายการโพสต์ที่เผยแพร่แล้วและโพสต์ในข้อความร่างของบล็อกนั้นๆ
  • ติดตามบล็อกโปรดของคุณ: ด้านล่างรายการบล็อกของคุณ คุณจะเห็นรายการบล็อกที่คุณติดตาม พร้อมข้อความตัวอย่างจากโพสต์ล่าสุดของบล็อกเหล่านั้น
  • อื่นๆ: ดูเมนูเลื่อนลงข้างไอคอนรายการโพสต์สำหรับลิงก์ด่วนไปยัง:
    • ภาพรวม
    • โพสต์
    • หน้าเว็บ
    • ความคิดเห็น
    • สถิติ
    • รายได้
    • การออกแบบ
    • เทมเพลต
    • การตั้งค่า
ภาพรวม
ภาพรวม
บนแท็บ ภาพรวม คุณจะเห็นกิจกรรมต่างๆ ของบล็อก ข่าวสาร และเคล็ดลับจากทีมบล็อกเกอร์ และบล็อกล่าสุดของกระดาษโน้ต

การเขียนโพสต์

เมื่อคุณลงชื่อเข้าใช้บล็อกเกอร์แล้ว คุณจะเห็นแดชบอร์ดพร้อมด้วยรายชื่อบล็อก ต่อไปนี้คือสิ่งที่คุณต้องทำ
  1. คลิกที่ไอคอนรูปดินสอสีส้มเพื่อเขียนโพสต์ใหม่ และป้อนอะไรก็ได้ที่ต้องการแบ่งปันกับคนทั้งโลก
  2. ถัดไป คุณจะเห็นหน้าเว็บของเครื่องมือแก้ไขโพสต์ เริ่มต้นด้วยการตั้งชื่อโพสต์ (ไม่จำเป็น) จากนั้นป้อนเนื้อหาโพสต์
    โพสต์ใหม่
  3. เมื่อดำเนินการเสร็จแล้ว ให้คลิกปุ่ม ดูตัวอย่าง ที่ด้านบนเพื่อตรวจสอบให้มั่นใจว่าพร้อมที่จะดำเนินการ จากนั้นคลิกที่ปุ่ม เผยแพร่เพื่อเผยแพร่โพสต์

การเพิ่มรูปภาพ

คุณสามารถเพิ่มภาพจากคอมพิวเตอร์หรือจากเว็บไปยังบล็อกของคุณ คลิกที่ไอคอนภาพในแถบเครื่องมือของเครื่องมือแก้ไขบทความ หน้าต่างใหม่จะปรากฏขึ้น เพื่อให้คุณเรียกดูไฟล์ภาพจากคอมพิวเตอร์ หรือป้อน URL ของภาพบนเว็บ
เมื่อคุณเลือกภาพได้แล้ว คุณจะสามารถเลือกการออกแบบเพื่อกำหนดว่าภาพของคุณจะปรากฏในบทความอย่างไร:
  • ตัวเลือก "ซ้าย" "กึ่งกลาง" และ "ขวา" ช่วยให้คุณปรับแต่งวิธีที่ข้อความบล็อกจะล้อมรอบภาพของคุณ
  • ตัวเลือก "ขนาดภาพ" จะกำหนดขนาดของภาพที่จะปรากฏในบทความของคุณ
คลิก อัปโหลดภาพ เพื่อเพิ่มภาพของคุณ จากนั้นคลิก เสร็จสิ้น เมื่อหน้าต่างการแจ้งปรากฏเพื่อแจ้งให้คุณทราบว่า "เพิ่มภาพของคุณแล้ว" จากนั้น Blogger จะนำคุณกลับสู่เครื่องมือแก้ไขบทความ ซึ่งคุณจะพบภาพของคุณพร้อมสำหรับการเผยแพร่ในบล็อกของคุณ

การเพิ่มวิดีโอ

เมื่อต้องการเพิ่มวิดีโอลงในโพสต์ของบล็อก ให้คลิกไอคอนรูปแผ่นฟิล์มในแถบเครื่องมือตัวแก้ไขโพสต์ที่ด้านบนของบริเวณที่คุณใช้เขียนข้อความบล็อก จะมีหน้าต่างปรากฏเพื่อให้คุณ "เพิ่มวิดีโอในบทความบล็อกของคุณ"
คลิก เรียกดู เพื่อเลือกไฟล์วิดีโอจากคอมพิวเตอร์ของคุณที่คุณต้องการอัปโหลด โปรดทราบว่า Blogger ยอมรับไฟล์ AVI, MPEG, QuickTime, Real และ Windows Media และวิดีโอของคุณต้องมีขนาดน้อยกว่า 100 เมกะไบต์
ก่อนที่จะอัปโหลดวิดีโอ เพิ่มชื่อในช่อง "ชื่อวิดีโอ" และยอมรับข้อกำหนดในการให้บริการ (คุณต้องดำเนินการนี้เฉพาะครั้งแรกที่อัปโหลดวิดีโอกับ Blogger) จากนั้นคลิก อัปโหลดวิดีโอ
ขณะที่วิดีโอของคุณถูกอัปโหลด คุณจะพบตัวจองพื้นที่ในเครื่องมือแก้ไขบทความ เพื่อแสดงว่าวิดีโอของคุณจะปรากฏที่ไหน นอกจากนี้คุณจะพบข้อความสถานะใต้เครื่องมือแก้ไขบทความ เพื่อแจ้งให้คุณทราบว่าการอัปโหลดกำลังดำเนินการ ขั้นตอนนี้จะใช้เวลาประมาณห้านาที ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดวิดีโอของคุณ เมื่อดำเนินการเสร็จ วิดีโอของคุณจะปรากฏในตัวแก้ไขโพสต์

กำหนดค่า

เทมเพลตเป็นสิ่งที่คุณจะใช้ปรับแต่งบล็อกได้อย่างสนุกสนาน เมื่อสร้างบล็อกใหม่ คุณจะต้องเลือกเทมเพลตเริ่มต้น ซึ่งเป็นการออกแบบพื้นฐานสำหรับบล็อกของคุณ คุณสามารถเลือกจาก เทมเพลตจำนวนมาก ที่เตรียมไว้ให้สำหรับบล็อกของคุณ เพียงเลือกเทมเพลตที่เหมาะกับความต้องการของคุณมากที่สุด
เทมเพลต
เมื่ออยู่บนแท็บ เทมเพลต คุณสามารถเลือกคลิกที่ปุ่ม กำหนดค่า สีส้มเพื่อเริ่มเครื่องมือออกแบบเทมเพลต WYSIWYG (“สิ่งที่เห็นคือสิ่งที่จะได้”) หรือเลือกเทมเพลตเริ่มต้นอันใดอันหนึ่งของเรา หากต้องการแก้ไข HTML ของบล็อก ให้คลิกที่ปุ่ม แก้ไข HTML สีเทา
นอกจากนี้ คุณสามารถปรับแต่งการออกแบบบล็อก โดยใช้อินเทอร์เฟซแบบลากและวางที่ใช้งานง่าย นอกจากนี้คุณยังสามารถเพิ่มวิดเจ็ตดีๆ เช่นการแสดงภาพสไลด์ หรือโพลจากผู้ใช้ หรือแม้แต่ โฆษณา AdSense ก็ได้ ถ้าคุณต้องการควบคุมการออกแบบบล็อกโดยละเอียดยิ่งขึ้นอีก คุณสามารถใช้คุณลักษณะแก้ไข HTML ได้ ในการแก้ไขการออกแบบบล็อก ให้ทำตามขั้นตอนต่อไปนี้
  1. คลิก การออกแบบ จากเมนูแบบเลื่อนลงบนแดชบอร์ดด้านล่างบล็อกที่คุณต้องการกำหนดค่า
  2. จากนั้นคลิก แก้ไข เพื่อแก้ไขแกดเจ็ตที่มีอยู่ หรือ เพิ่มแกดเจ็ต เพื่อเพิ่มใหม่
  3. ถ้าต้องการเพิ่มแกดเจ็ตใหม่หลังจากที่คุณคลิก เพิ่มแกดเจ็ต ให้คลิกที่เครื่องหมายบวกถัดจากแกดเจ็ตที่คุณต้องการ คุณสามารถเลือกวิดเจ็ตตามหมวดหมู่ หรือค้นหาวิดเจ็ตที่ต้องการในมุมด้านขวาบนของหน้าต่างแบบป๊อปอัป
  4. add_gadget
  5. เมื่อคุณได้เพิ่มข้อมูลที่จำเป็นไปยังแกดเจ็ตที่เลือกไว้เรียบร้อยแล้ว ให้คลิกปุ่ม บันทึกการจัดวาง สีส้ม การออกแบบที่เปลี่ยนแปลงไว้จะปรากฏขึ้นในทันที
ข้อมูลส่วนบุคคลและการอนุญาต
ตามค่าเริ่มต้น บล็อกของคุณทุกส่วนจะเป็นแบบสาธารณะ และบุคคลทั่วไปในอินเทอร์เน็ตสามารถอ่านได้ แต่ถ้าคุณต้องการความเป็นส่วนตัว คุณสามารถทำได้เช่นกัน คุณสามารถเปลี่ยนการตั้งค่าเหล่านี้ในแท็บ การตั้งค่า | ขั้นต้น
การอนุญาตและข้อมูลส่วนบุคคล
  1. ในส่วน "ผู้อ่านบล็อก" คุณอาจพบว่ามีการเลือก "ใครก็ได้" ไว้เป็นค่าเริ่มต้น เมื่อเปลี่ยนตัวเลือกนี้เป็น "เฉพาะผู้อ่านเหล่านี้" คุณจะพบปุ่ม เพิ่มผู้อ่าน
  2. คลิกที่ปุ่ม เพิ่มผู้อ่าน จากนั้นป้อนที่อยู่อีเมลของบุคคลที่คุณต้องการให้สิทธิ์ในบล็อกของคุณ ถ้าต้องการเพิ่มหลายคน ให้คั่นที่อยู่ด้วยเครื่องหมายจุลภาค
  3. สำหรับแต่ละที่อยู่ที่ป้อน บัญชีผู้ใช้ Google ที่เชื่อมโยงกับที่อยู่นั้นจะได้รับสิทธิ์ในการดูบล็อกของคุณ ถ้าที่อยู่ไม่ได้เชื่อมโยงกับบัญชี บุคคลนั้นจะได้รับอีเมลคำเชิญพร้อมด้วยลิงก์เพื่อให้สามารถดำเนินการหนึ่งในสามอย่างต่อไปนี้:
    • ลงชื่อเข้าใช้บัญชีที่มีอยู่
    • สร้างบัญชีใหม่
    • ดูบล็อกในฐานะผู้เข้าชม (ไม่ต้องมีบัญชี)

    • 1. ใช้เป็นเครื่องมือสร้างความรู้ การเขียน blog สำหรับบันทึกเรื่องราว  ข่าวสาร  ความรู้และประสบการณ์ต่าง ๆ ในสิ่งที่ผู้เล่าสนใจ เป็นการถ่ายทอดสิ่งที่ถูกบันทึกไว้ในสมองลงสู่ตัวหนังสือการเขียนต้องมีอิสระทางความคิดในรูปแบบที่เป็นตัวของตัวเอง จะช่วยอำนวยให้การดึงเอาความรู้ฝังลึกถูกแสดงออกมาได้โดยไม่ยากนักน็ และการเขียน blog อยู่เป็นประจำก็จะสามารถนำมาสู่การสร้างขุมความรู้  ( Knowledge  Assets ) อย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ การเก็บรวบรวมและการแก้ไขหรือเพิ่มเติมความรู้ก็ทำได้โดยสะดวก รวดเร็ว
      2. เป็นเครื่องมือในการเผยแพร่ความรู้ โดยหลักการของ blog คือการเผยแพร่เรื่องราวที่ผู้เขียนเขียนไว้บน blog เพื่อแสดงตัวตนของผู้เขียนออกสู่สาธารณชนซึ่งนั่นหมายถึง blog ย่อมมีความสามารถในการสนับสนุนการเข้าถึงความรู้ได้ง่าย สะดวก และรวดเร็ว ทันทีที่ผู้เขียนมีการเพิ่มเติมหรือแก้ไขความรู้ที่มีอยู่บน blog ไฟล์ RSS ก็จะทำการดึงเอาเนื้อหานั้น ๆ มาใส่ไว้ในไฟล์ด้วยทันที
      3. เป็นเครื่องมือแลกเปลี่ยนความรู้ การเขียน blog จะอนุญาตให้ผู้อ่านสามารถแสดงความคิดเห็นต่อความรู้ที่ผู้เขียนถ่ายทอดลงไปใน blog และผู้เขียนได้เขียนโต้ตอบต่อความคิดเห็นนั้น ๆ ในลักษณะของการสนทนาเพื่อหาความแตกฉานในตัวความรู้ ถือได้ว่าเป็นการร่วมกันสกัดความรู้ฝังลึกได้อย่างดี
      4. เป็นเครื่องมือในการค้นหาความรู้ ผู้ชำนาญการ และชุมชนปฏิบัติ การเขียนและอ่าน blog เป็นวิธีการค้นหาความรู้ ช่วยให้ค้นพบผู้มีความรู้ความชำนาญในด้านต่าง ๆ ได้รวดเร็วขึ้น ไม่ว่าจะโดยการเขียน blog ที่มักอ้างถึง blog อื่น ๆ โดยการโยงลิค์ไปหาบทความหรือบันทึกนั้น ๆ อีกทั้งลิค์ที่ผู้เขียนบรรจุไว้ใน blog ซึ่งอยู่นอกตัวบทความ หรือการร่วมเป็นสมาชิกของ blog ชุมชน
      5. เป็นเครื่องมือในการรวบรวมและแยกแยะประเภทของความรู้ สกัดแก่นความรู้ และสร้างความสัมพันธ์ของความรู้ วิธีการหนึ่งที่ระบบ blog โดยทั่วไปนำมาใช้ในการรวบรวมและแยกประเภทของของบันทึก คือการให้ผู้เขียนระบุหมวดหมู่หรือคีย์เวิร์ดของบันทึกนั้น ๆ ไว้ ซึ่งบันทึกหนึ่ง ๆ อาจมีความเหมาะสมในการแยกหลายหมวดหมู่ ถือเป็นการสกัดแก่นความรู้จากขุมความรู้ โดยที่ตัวผู้เขียนเอง อาจจะดึงเอาคีย์เวิร์ดของชุมชนที่ถูกรวบรวมผู้ใช้หลายคน
      6.เป็นเครื่องมือในการสร้างลำดับความน่าเชื่อถือและความถูกต้องของความรู้โดยผู้นำเอาความรู้นั้นไปใช้                สิ่งที่นักปฏิบัติด้านการจัดการความรู้อยากให้เกิดขึ้นภายหลังจากการที่ได้มีการจัดการความรู้ ก็คือ การที่มีผู้อื่นนำเอาความรู้นั้น ๆ ไปใช้ให้เกิดผลและนำผลมาปรับปรุงความรู้เดิมให้เกิดความรู้ตัวใหม่ หรือทำให้ความรู้นั้น ๆ มีความถูกต้องมีหลักฐานที่วัดได้ทางวิทยาศาสตร์ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ระบบ blog ประกอบกับเทคโนโลยีในการ พัฒนาเว็ปในปัจจุบัน สามารถสร้างระบบ Rating หรือระบบการจัดลำดับความน่าเชื่อถือ และความถูกต้องของความรู้หนึ่ง ๆ ได้โดยตรงจากผู้อ่าน blog  ซึ่งอาจจะเป็น ผู้ที่ได้นำเอาความรู้นั้นๆ ไปใช้เองอีกด้วย หรือการแสดงสถิติต่างๆของ blog เช่น บันทึกที่ได้รับการแสดงข้อคิด เห็นมากที่สุด หรือ บันทึกที่มีผู้อ่านมากที่สุด ก็สามารถเป็นเครื่องมือพิสูจน์ความน่าเชื่อถือ และความถูกต้องของความรู้ได้ในระดับหนึ่งด้วยเช่นกัน
      7. ใช้เป็นเครื่องมือแสดงรายละเอียดของแก่นความรู้อย่างเป็นระบบซึ่งนักวิทยาศาสตร์ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ กล่าวไว้ว่า “Imagination is more important than knowledge.”  การไม่หยุดคิดที่จะวิจัยและพัฒนา เครืองมือเทคโนโลยีเพื่อช่วยสร้างความสมบูรณ์แบบของระบบ การจัดการกับความรู้เป็นสิ่งที่สนับสนุนให้เกิดขึ้นได้ เช่น ในปัจจุบันระบบ blog ถือว่าเป็นเครื่องมือสำหรับเสริมสร้างประสิทธิภาพในการเล่าเรื่อง ซึ่งถือเป็นเทคนิคที่ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายในการจัดการความรู้ แต่เพื่อที่จะสกัดความรู้ฝังลึกที่มีความซับซ้อน การใช้เทคนิคการเล่าเรื่องเพียงอย่างเดียว หรือการร่วมช่วยกันเล่าก็ตาม ก็อาจจะยังไม่สามารถสกัดเอาความรู้ออกมาได้หมด เพราะความสับสน และความไม่มีรูปแบบในตัว ของความรู้เอง ดังนั้น เทคโนโลยีที่น่าจะสามารถช่วยจัดการความรู้ประเภทนี้ได้ ก็เช่น Rule-based reasoning หรือ Fuzzy logic เพื่อ ใช้ในการทำเหมืองความรู้ ( Knowledge mining ) เป็นต้น
      8. เป็นศูนย์ความรู้ขององค์การ เพราะให้พนักงานและบุคลากร แต่ละคนเขียน blog ส่วนตัวไว้ หากพนักงานและบุคลากรท่านนั้นลาออกไป ความรู้ยังคงอยู่ที่องค์กรให้รุ่นน้องศึกษาไปโดยการถ่ายทอด หรือแลกเปลี่ยนความรู้ โดยเฉพาะ  Tacit  Knowledge เขียนออกมาเป็น “เรื่องเล่า”